1. ความหมายของซอฟต์แวร์
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเกิดจากคำสั่งหรือชุดคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยนักเขียนโปรแกรม(programmer) คำสั่งมีลักษณะเป็นซอฟท์แวร์สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผล แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นสารสนเทศตามที่เราต้องการ ดังนั้นซอฟท์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นสำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีนักวิชาการให้ความหมายหรือกล่าวถึงซอฟท์แวร์ไว้หลายแง่มุม ดังนี้
ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรงเพราะซอฟท์แวร์มีคุณลักษณะเป็นนามธรรมโดยทั่วไปเรียกว่าโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เรา ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นคำสั่งที่มีลำดับขั้นตอนการทำงานซึ่งเขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้น ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
2. ประเภทของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) โดยมีรายละเอียดของซอฟต์แวร์แต่ละประเภทดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรองเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆซอฟท์แวร์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์ ใช้ในการควบคุมดูแลการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ ขณะที่เรากำลังใช้โปรแกรมประยุกต์อยู่ซอฟต์แวร์ระบบจะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งซอฟท์แวร์ระบบมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
2.1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating Software หรือ OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การสำเนาข้อมูล (copy) การเรียงลำดับ (sort) การลบ (delete) และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังใช้ในการดำเนินงานของโปรแกรมประยุกต์ด้วย โปรแกรมที่พัฒนาจากระบบปฏิบัติการที่ต่างกันจะนำมาใช้ร่วมกันไม่ได้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากที่สุดในขณะนี้ คือ
1) ระบบปฏิบัติการดอส(DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่รับคำสั่งจากผู้ใช้งานเป็นข้อความ (text mode) DOS มาจากคำว่า Disk Operating System อาจเป็น พีซีดอส(PC-DOS) หรือ เอ็มเอส-ดอส (MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ก็ได้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแล้ว
2) ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการทำงานที่ทำงานด้วยคำสั่งกราฟิกชนจอภาพโดยใช้เมาส์ในการควบคุมคำสั่งให้โปแกรมทำงานผ่านภาพ กราฟิกที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญรูป หรือ ไอคอน (icon) เราเรียกว่าการทำงานแบบการประสานกับผู้ใช้ในลักษณะของกราฟิกGUI (graphical user interface) อ่านออกเสียงว่า “กุย” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าระบบปฏิบัติการแบบดอส ระบบปฏิบัติการโดวส์ที่ได้พัฒนามามีใช้หลายแบบ เช่น วินโดวส์ 3.1 ,วินโดวส์ 95, วินโดวส์ 2000, วินโดวส์มี (Windows me), วินโดวส์ เอ็นที (Windows NT)และวินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) เป็นต้น
3) ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้พัฒนามาเป็นเวลานานมากกว่าระบบดอส ระบบยูนิกส์มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง จึงนิยมใช้กับเครื่องที่ต้องการประสิทธิ ภาพการทำงานสูง เช่น เครื่องที่เป็นแม่ข่ายของระบบอินเทอร์เน็ต ระบบยูนิกส์ที่ใช้มีหลายระบบ เช่น Unix Ware, AIX, Linux, HP-UXและVMS เป็นต้น ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้4) ระบบปฏิบัติการแมค (MAC OS) พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม็คอินทอช ทำงานแบบเดียวกับโปรแกรมวินโดวส์นิยมใช้งานประเภทการออกแบบกราฟิก
3. ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการเป็นการสั่งงานตามลำดับขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมเรียบเรียงไว้ในรูปของเลขฐานสองซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ และเสียงภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมาย เพราะคำสั่งหรือซอฟท์แวร์แต่ละโปรแกรมจะถูกออกแบบสำหรับใช้กับแต่ละงานแตกต่างกัน เช่นโปรแกรมสำหรับจัดทำเอกสาร โปรแกรมสำหรับจัดทำบัญชี โปรแกรมสำหรับจัดทำสื่อการนำเสนอ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภาพนิ่ง โปรแกรมเกี่ยวกับการตัดต่อภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งบางโปรแกรมสามารถประยุกต์ใช้งานดีอีกหลายด้านตามความสามารถของผู้เขียนและผู้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ
4. ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในการจัดการสารสนเทศเรื่องต่างๆได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการจำเป็นต้องมีสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
1. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
คำว่า ข้อมูลความรู้ในที่นี้ จะรวมหมายถึงตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและ/หรือจัดหมวดหมู่แล้วซึ่งเรียกว่า สารสนเทศ ตลอดจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีการวิเคราะห์ซึ่งควรจะเรียกได้ว่าความรู้ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้เราจะใช้คำว่าข้อมูลในความหมายกว้างที่รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูลมีดังต่อไปนี้
1.ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ คือ
2.รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
3.รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น น่าจะเป็นหน่วยงานใด
4.รู้ว่าสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น มีอะไรบ้าง
5.ต้องรู้จักวิธีเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
6.ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล หรือ เซิร์จเอ็นจิน (Search engine)
7. ต้องรู้จักใช้ดุลพินิจว่าข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่
การค้นหาข้อมูล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง
อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่ง ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้